วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555


คำอธิบายรายวิชา
                 ศึกษาแนวคิดทฤษฎี นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ การวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ การสร้าง การออกแบบ การนำไปใช้ การประเมินผล การปรับปรุงนวัตกรรม สามารถเลือกใช้ ออกแบบสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะรับผิดชอบสอนในอนาคตได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับระดับการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้ผุ้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
วัตถุประสงค์
                 เมื่อผู้เรียนศึกษาเนื้อหาบทเรียนจบตามหลักสูตรแล้วจะมีพฤติกรรมหรือความสามารถดังนี้
1. อธิบายความหมายของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
2. ยกตัวอย่างนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
4. บอกถึงปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศได้
5. บอกความหมายและประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้ได้
6. อธิบายพื้นฐานการออกแบบการเรียนการสอนได้
7. อธิบายรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
8. ยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
9. อธิบายวิธีการเลือกใช้สื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมได้
10. เสนอแนวทางในการสร้าง ปรับปรุงนวัตกรรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาได้อย่างน้อย 1 รายวิชา
11. สามารถแสวงหาแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรมได้
12. ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศได้อย่างน้อย 3 เรื่อง
เนื้อหาบทเรียน
       หน่วยการเรียนที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศ
       หน่วยการเรียนที่ 2 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
       หน่วยการเรียนที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
       หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
       หนวยการเรียนที่ 5 การออกแบบการเรียนการสอน
       หน่วยการเรียนที่ 6 นวัตกรรมการเรียนการสอน
       หน่วยการเรียนที่ 7 คอมพิวเตอร์
       หน่วยการเรียนที่ 8 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
       หน่วยการเรียนที่ 9 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน
       หน่วยการเรียนที่ 10 แนวโน้มในอนาคตเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาหรือการเรียนการสอน

หลักคุณธรรม จริยธรรม

หลักคุณธรรม จริยธรรม

คุณธรรมอันสูงสุด คือ การที่มนุษย์สำนึกในความเป็นข้าทาสของตนเอง ต่อพระผู้เป็นเจ้า ด้วยใจอันบริสุทธิ์ จิตใจผูกพัน กับพระองค์ตลอดเวลา ท่านศาสดามุหัมมัด (ช.ล.) กล่าวไว้ ความว่า
               "อิหฺซาน คือ การที่ท่านปฏิบัติการนมัสการอัลลอฮฺ ประหนึ่งท่านเห็นพระองค์ แม้ท่านไม่สามารถเห็นพระองค์ แต่พระองค์ ทรงมองเห็นท่าน"
คุณธรรมที่ต้องประพฤติ

               หมายถึงความดีต่างๆ ที่ต้องประพฤติอยู่เสมอ อันได้แก่หน้าที่และมารยาทที่ต้องแสดงออก และคุณสมบัติที่ดีทางจิตใจ เช่น

               1. หน้าที่ของบุคคลต่อพระเจ้า  ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ตัวเองอยู่ต่อหน้าพระผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงมองเห็นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องทำแต่ความดี มีมารยาท และละเว้นการกระทำที่ผิดต่อบทบัญญัติของพระองค์

               2. หน้าที่ของผู้รู้  ครูและผู้รู้โดยทั่วไป จะต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ความรู้ที่ตนได้มานั้น เป็นไปโดยความเมตตาของผู้เป็นเจ้า พระองค์ทรงประทานให้ ดังนั้น จึงต้องเผยแพร่ต่อให้ผู้อื่น ให้ได้รับความรู้ โดยไม่มุ่งหวังอามิสสินจ้างใดๆ ทั้งสิ้น และไม่นำความรู้ ไปสร้างสมบารมี หรือนำความรู้ไปแข่งขันกับใคร หรือทับถมผู้รู้อื่นๆ หรือหาประโยชน์อันมิชอบ

               3. หน้าที่ของผู้ไม่รู้  ผู้ไม่รู้จะต้องศึกษาเพื่อจะได้มีความรู้ ความรู้มิได้จำกัดแต่เฉพาะความรู้ทางด้านสามัญ หรือ ศาสนา ด้านใดด้านหนึ่ง มุสลิมจะต้องเรียนรู้ความรู้ทั้งสองด้าน จนสามารถนำความรู้ความสามารถ ไปประพฤติทางด้านศาสนาอย่างดี และนำความรู้ด้านสามัญหรือวิชาชีพ ไปประกอบสัมมาอาชีพต่อไป และผู้เรียนรู้ทุกคน จะต้องให้ความเคารพต่อผู้สอน มีความนอบน้อมถ่อมตน พูดจาสุภาพ อ่อนโยน และคอยอุปถัมภ์ผู้สอนของตนอยู่เสมอ

               4. หน้าที่ของลูก  ลูกทุกคนมีหน้าที่ต้องระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของพ่อแม่ ต้องมีความกตัญญูกตเวทิคุณ ต่อท่านทั้งสอง ต้องคิดอุปการะท่านทั้งสอง ไม่ปล่อยให้ท่านทั้งสองต้องเดียวดาย อยู่กับความเหงา และต้องปรนนิบัติท่านทั้งสอง เป็นอย่างดีที่สุด

               5. หน้าที่ของพ่อแม่  เมื่อพ่อแม่มีลูก ก็ต้องเลี้ยงดูลูกอย่างดี ให้การดูแล ให้ความสุข ให้การศึกษา คอยอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นคนดี มีมารยาท ไม่ปล่อยปละละเลยต่อลูก จนขาดความอบอุ่นทางจิตใจ เตลิดออกไปหาความสนุกสนานนอกครอบครัว พ่อแม่ต้องสร้างสถาบันครอบครัว ให้เป็นความหวังของลูก เป็นสวรรค์ของลูก อย่าทำให้เป็นนรกของลูก

               6. หน้าที่ของเพื่อน  คนทุกคนมีเพื่อน ไม่ว่าเพื่อนร่วมงาน เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อนร่วมหมู่บ้าน จนถึงเพื่อนร่วมโลก ทุกคนต้องหวังดีกัน มีความประพฤติที่ดีต่อกัน ไม่ดูถูก ไม่เกลียด ไม่อาฆาตแค้น ไม่ทับถมหรือทำลายใคร ต่างคิดที่จะอยู่ร่วมกัน อย่างมีความสุข

               7. หน้าที่ของสามี  ทั้งสามี - ภรรยา จะต้องมีหน้าที่พึงปฏิบัติต่อกัน กล่าวคือ สามีต้องรับผิดชอบ ในด้านการปกครองครอบครัว และการหารายได้เลี้ยงดูครอบครัว และสามีจะต้องเป็นที่พึ่งของครอบครัว มีความประพฤติที่ดีงาม ต่อคนในครอบครัว เป็นแบบอย่างที่ดีงามแก่คนในครอบครัวโดยสม่ำเสมอ ไม่ทิ้งครอบครัวออกไปหาความสุขนอกบ้าน และต้องตักเตือนและสอนภริยาและคนในครอบครัว

               8. หน้าที่ของภริยา  ภริยามีหน้าที่ช่วยเหลือสามีในด้านต่างๆ คอยสอดส่องดูแล เป็นกำลังใจให้สามี ให้ความสุขแก่สามี และต้องต้อนรับแขกของสามีด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส และด้วยความจริงใจ ไม่นินทาสามีลับหลัง ไม่บ่นหรือก้าวร้าวสามี หากสามีทำผิด ก็เตือนด้วยความหวังดี และครองสติ ไม่โมโห ให้เกียรติสามี และอยู่ในโอวาทของสามี

               9. หน้าที่ของผู้นำ  ผู้นำทางสังคมในตำแหน่งต่างๆ ที่ถูกแต่งตั้งหรือเลือกตั้งก็ตาม จะต้องปฏิบัติตนต่อผู้ตาม ด้วยความเมตตาและด้วยความนอบน้อม ไม่ถือตัว พูดจาสุภาพอ่อนโยน เมื่อจะใช้อำนาจ ก็ใช้ด้วยความยุติธรรม มีความกล้าหาญ และกล้าตัดสินใจ ไม่ลังเล ไม่อ่อนแอ ไม่ขลาดกลัว ต้องประพฤติดี พร้อมทั้งเป็นตัวอย่างที่ดี สำหรับประชาชน ต้องเสียสละทุกสิ่ง เพื่อประชาชน

             10. หน้าที่ของประชาชน  ประชาชนในฐานะผู้ตาม จะต้องเคารพผู้นำกฎต่างๆ ที่ออกมาโดยชอบธรรม ประชาชนต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัด ผู้ตามจะคิดกระด้างกระเดื่องไม่ได้ แต่ก็กล้าหาญที่จะเตือนผู้นำ เมื่อผู้นำทำผิด หรือออกกฎหมายโดยไม่ชอบธรรม ให้ความร่วมมือในกิจกรรมที่ดี รักษาและปกป้องเกียรติยศ ของผู้นำที่มีคุณธรรม ไม่ละเมิดต่อสิทธิของผู้นำ และสิทธิของประชาชนด้วยกัน