หน่วยที่ 2


หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยี สารสนเทศ

ความหมายของนวัตกรรม
      “นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่ง
                ประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการ  พัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้   การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   สูงกว่าเดิมทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย นวัตกรรม” (Innovation)
                มีรากศัพท์มาจาก
innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นโดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษกิฐอุตสาหกรรม เช่นผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (
Technological Innovation)

ทอมัส  ฮิวช์
ทอมัส  ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)

หลักการ/ทฤษฎี/วิธีการ/แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา  ประกอบด้วย

1.หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา
   1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้   ได้มาจาก 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มพฤติกรรม  และกลุ่มความรู
   1.2 ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพสังคมและ วัฒนธรรม ทำให้มีพฤติกรรมที่ออกมาแตกต่างกัน
   1.3 ทฤษฎีการพัฒนาการ ประกอบด้วย ทฤษฎีของเปียเจท์ บรูนเนอร  อิริคสันกีเซล

2. ทฤษฎีการสื่อสาร   
         รศ.ดร.สาโรช โศภี ได้กล่าวว่า การสื่อสาร (communication ) คือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคลหรือบุคคลต่อกลุ่ม โดยใช้สัญลักษณ์ สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน โดยมีองค์ประกอบ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ส่งสาร ข้อมูล ข่าวสาร สื่อ และผู้รับสื่อ

3. ทฤษฎีระบบ 
        จัดเป็นสาขาวิชาเกิดขึ้นช่วงปลายทศวรรษที่ 20 ทฤษฎีระบบเป็นสาขาวิชาที่พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวความคิดหลายสาขา โดยทำแนวคิดจากหลายสาขาวิชามาประยุกต์ผสมผสานสร้างเป็นทฤษฎีระบบขึ้นมา

4. ทฤษฎีการเผยแพร่ กฤษมนท์ วัฒนาณรงค์
         (2550: หน้า 32-41) กล่าวว่า ทฤษฎีการเผยแพร่นั้น เกิดจากกาผสมผสานทฤษฎีหลักการและความรู้ความจริงจากหลายสาขาวิชาที่มีศาสตร์เกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ แต่ละศาสตร์ก็จะมีส่วนประกอบเฉพาะในส่วนที่เป็นนวัตกรรมของศาสตร์นั้นๆ ผลจากการรวบรวมกระบวนการวิธีการและทฤษฎีการเผยแพร่ของศาสตร์ต่างๆนำไปสู่การสร้างทฤษฎีการเผยแพร่ขึ้น
          ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ
         การใช้คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล (Teleconference) อี-เลินนิ่ง (e-Learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น

หลักสำคัญของนวัตกรรม
        หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันแต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ โดย ชัยยงค์  พรหมวงศ์  ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้
          จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วนมีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงมีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
           การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
           นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด
          นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวะการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจังนวัตกรรม

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน
             เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน ดังนั้น จึงสามารถจัดประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนเป็น4 ประเภทดังนี้

1. นวัตกรรมที่ปรับปรุงทั้งระบบการเรียนการสอน
(1) รูปแบบวิธีการระบบ (The System Approach Model)
(2) กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล
(3) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ (e-Learning)

 2. นวัตกรรมที่ปรับปรุงตัวป้อน
(1) แฟ้มงานของครู (Teaching Portfolio)
(2) การสอนเป็นทีม (Team Teaching)
(3) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(4) หลักสูตรเพศศึกษา และชีวิตในครอบครัว

3.นวัตกรรมที่ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
(1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning Model)
(2) การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Child -Centered Approach)
(3) การสอนแบบสตอรีไลน์ (Storyline Approach)
(4) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแคทส์ (CATS)

 4.นวัตกรรมที่ปรับปรุงผลผลิต
(1) การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
(2) การประกันคุณภาพการศึกษา

การประเมินนวัตกรรมการเรียนการสอน
1)  มองเห็นชัดเจนว่า นวัตกรรมนั้นดีกว่าของเดิมที่ใช้อยู่ในด้านความสะดวก ความประหยัดและความพึงพอใจ
2) ไม่ขัดแย้งกับประเพณีวัฒนธรรม ค่านิยมและความต้องการของผู้ใช้
3) ไม่มีความซับซ้อนยุ่งยากในการใช้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความรู้ใหม่มากนัก
4) สามารถทดลอง หรือทดสอบได้ โดยใช้เวลาไม่มาก
5) สามารถเห็นผลของการใช้ได้อย่างชัดเจนและมีประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้การใช้นวัตกรรม คุ้มค่า สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนควรทำการประเมินนวัตกรรมตามเกณฑ์ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1.เกณฑ์คุณลักษณะส่วนตัวของนวัตกรรม มี 5 ลักษณะ คือ
(1) ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย
(2) สะดวกในการนำไปใช้
(3) สำเร็จรูปใช้ได้ทันที
(4) ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษามาก
(5) ไม่ขัดกับสภาพสังคม

 2. เกณฑ์ผลกระทบต่อสังคม มี 3 ประการ คือ
(1) มีคนนิยมใช้จำนวนมาก
(2) ผลของนวัตกรรมอยู่ได้นาน
(3) ไม่มีผลในทางลบ

3. เกณฑ์การพัฒนาการเรียนการสอน มี 3 ประเด็น คือ
(1)       เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   ประสบการณ์ หรือทักษะ
(2)       ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน เช่น ลดเวลาในการสอน หรือช่วยวิเคราะห์ ปัญหาการเรียนรู้
      (3)      ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น